วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

“Face Off” ปลูกถ่ายหน้าใหม่ ฝันที่ใกล้วันเป็นจริง

ศัลยแพทย์มาเรีย ไซมิวโนว์ ศัลยแพทย์พลาสติก กำลังพยายามจะปลูกถ่ายใบหน้าจากศพผู้บริจาคให้แก่ผู้รับบริจาคที่หน้าเสีย โฉมเป็นครั้งแรกของโลก

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
Face Off การเปลี่ยนหน้าใหม่ แทนหน้าเก่า จะไม่ใช่แค่เรื่องจินตนาการในหนังไซไฟอีกต่อไป

ดร. ไซมิวโนว์ ขณะกำลังผ่าตัดคนไข้รายหนึ่งในคลีฟแลนด์ คลินิก

แมท ทิว เทฟเฟลเลอร์ ในรัฐเทนเนสซี ซึ่งประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อ 3 ปีก่อน และพยายามผ่าตัดปลูกถ่ายผิวหนังใบหน้าอยู่หลายครั้ง แม้ว่าเขาจะเหมาะสมที่จะเข้าเป็นคนไข้การผ่าตัดเปลี่ยนหน้า แต่เขาก็ปฏิเสธที่จะไปพบ ดร.ไซมิวโนว์

การ์เดียน/บีบีซีนิวส์ - ในอีกไม่กี่สัปดาห์ ข้างหน้า ศัลยแพทย์อเมริกันจะเริ่มต้นการสัมภาษณ์คนไข้กลุ่มเล็กๆ เพื่อเฟ้นหาผู้ที่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวงในการเข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายใบ หน้ารายแรกของโลก

ทีม แพทย์จากคลีฟแลนด์ คลินิก (Cleveland Clinic) จะต้องคัดเลือกคนไข้หนึ่งคนที่ใบหน้าเสียโฉม เพื่อรับใบหน้า “ใหม่” จากผู้บริจาคที่เสียชีวิตไปแล้ว โดยโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมีเพียง 50-50 ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญหลายกลุ่มแสดงความกังวลในด้านความปลอดภัยและจริยธรรม ของกระบวนการนี้

ภายหลังการถกเถียงนานหนึ่งปีเต็ม คลีฟแลนด์ คลินิกก็ได้รับอนุมัติจากคณะกรรรมการตรวจสอบภายใน ซึ่งประกอบด้วยศัลยแพทย์ จิตแพทย์ เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ นักบำบัด พยาบาล และตัวแทนคนไข้ ให้เดินหน้าการผ่าตัดปลูกถ่ายใบหน้า

กระบวน การนี้จะเกี่ยวข้องกับการลอกผิวหนังและเนื้อเยื่อจากใบหน้าผู้บริจาคที่เสีย ชีวิต มาปลูกถ่ายลงบนใบหน้าผู้รับบริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่

โปรแกรมการจำลองแบบในคอมพิวเตอร์บ่งชี้ว่า ใบหน้าใหม่จะไม่เหมือนทั้งผู้บริจาค และผู้รับบริจาค (ในสภาพเดิมก่อนเสียโฉม) โดยใบหน้าใหม่จะมีลักษณะตามโครงหน้าของผู้รับบริจาค มากกว่าเนื้อเยื่ออ่อนนุ่มของผู้ให้บริจาค

ผู้รับการปลูกถ่ายจะต้องสามารถกินอาหาร ดื่มน้ำ กระพริบตา รวมถึงแสดงออกทางสีหน้า และสื่อสารได้อีกครั้ง

ศัลยแพทย์มาเรีย ไซมิวโนว์ (Maria Siemionow) และทีมงาน จะสัมภาษณ์คนไข้ชาย 5 คน และคนไข้หญิง 7 คน ซึ่งเป็นผู้สมัครเข้ารับการผ่าตัดที่ต้องใช้เวลา 8-10 ชั่วโมง และต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล 10-14 วัน โดย ดร.ไซมิวโนว์แสดงเจตนารมณ์ว่า ต้องการเลือกคนไข้ที่เสียโฉมจริงๆ ไม่ใช่แค่มีแผลขีดข่วนเล็กน้อยเท่านั้น

ดร.ไซมิวโนว์จะศึกษาโหนกแก้ม ริมฝีปาก และจมูกของคนเหล่านั้น รวมถึงถามพวกเขาว่า คาดหวังจะได้อะไร และกลัวอะไรมากที่สุด รวมถึงคำถามว่า “คุณกลัวหรือไม่ว่าหน้าตาจะออกมาเหมือนคนอื่น?”

ผู้ที่ได้รับเลือกจะต้องมีสุขภาพผิวดีพอสำหรับการผ่าตัดแบบดั้งเดิม ที่ยังหลงเหลือรอยแผลเป็น ที่ทำให้ผิวหนังดูไม่เหมือนและไม่สามารถเคลื่อนไหวได้แบบเดียวกับผิวหนัง ธรรมชาติ ในกรณีที่การปลูกถ่ายล้มเหลว

เขาหรือเธอผู้นี้จะได้รับแจ้งว่า จะถูกผ่าตัดลอกใบหน้าเดิมออก และแทนที่ด้วยใบหน้าจากผู้บริจาคที่เสียชีวิตแล้ว ซึ่งมีเนื้อเยื่อ อายุ เพศ และสีผิวที่เข้ากันได้ โดยที่ต้องมีการเชื่อมต่อเส้นเลือดจากเนื้อเยื่อผู้บริจาคกับเนื้อเยื่อของ ผู้รับบริจาค เช่นเดียวกับการเชื่อมต่อปลายเส้นประสาท

ผู้ เข้ารับการปลูกถ่ายยังจะได้รับรู้เรื่องอาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น ซึ่งอาจรวมถึงการที่สีผิวบนใบหน้ากลายเป็นสีดำ ซึ่งจำเป็นต้องปลูกถ่ายรอบสอง หรือฟื้นฟูด้วยการตัดผิวหนังชั้นนอกจากส่วนอื่นๆ ของร่างกายมาโปะแทน

นี่ไม่ใช่รายการแปลงโฉมทางทีวี แต่เป็นเขตแดนทางการแพทย์ที่สำรวจค้นโดย ดร.ไซมิวโนว์ ที่ต้องการแสดงให้สาธารณชนเข้าใจในสิ่งที่เธอกำลังพยายามทำอยู่

เธอบอกว่า คนเหล่านี้สูญเสียอัตลักษณ์ที่เกี่ยวโยงกับใบหน้า และการปลูกถ่ายเป็นเสมือนการนำผิวหนังมาห่อหุ้ม และสอดใส่อัตลักษณ์ของบุคคลผู้นั้นไว้ภายใน

ฝ่ายที่เห็นด้วยตั้งข้อสังเกตถึงประสบการณ์และการวางแผนอย่างรอบคอบ ของไซมิวโนว์ตลอดจนทีมผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้ความช่วยเหลือ และการทดลองปลูกถ่ายกับสัตว์และร่างกายผู้เสียชีวิตมานับสิบครั้ง เพื่อให้เทคนิคนี้สมบูรณ์แบบที่สุด

ในทางตรงข้าม ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยโจมตีว่า กระบวนการนี้เสี่ยงเกินไป อีกทั้งเป็นอะไรที่นอกเหนือไปจากความเป็นหรือความตาย โดยมีการสมมติสถานการณ์เลวร้ายที่สุดว่า ร่างกายต่อต้านใบหน้าใหม่ ทำให้เนื้อตาย ผลคือใบหน้าคนไข้แย่กว่าเก่า

ว่าที่จริง กระแสต่อต้านการผ่าตัดปลูกถ่ายใบหน้ามีมาก่อนหน้านี้แล้ว ตั้งแต่ที่แพทย์ในฝรั่งเศสและอังกฤษออกมาพูดถึงแผนการนี้ อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการปลูกถ่ายใบหน้ากับคนจริงแต่อย่างใด

รอยัล คอลเลจ ออฟ เซอร์เจนส์ ออฟ อิงแลนด์ (Royal College of Surgeons of England) ที่ก่อตั้งคณะทำงานศึกษาประเด็นนี้ตั้งแต่ต้นปี ชี้ว่า ผู้รับการปลูกถ่ายใบหน้าจะต้องกินยาป้องกันไม่ให้ร่างกายปฏิเสธเนื้อเยื่อ แปลกปลอมจากคนอื่นไปตลอดชีวิต ซึ่งอาจก่อความเสี่ยงต่อสุขภาพในระยะยาว อีกทั้งยังไม่รู้ชัดว่า ผู้รับการปลูกถ่ายและคนรอบข้าง จะปรับตัวเข้ากับหน้าใหม่ในทางจิตวิทยาได้หรือไม่

นอกจากนั้น ยังยากที่จะคาดได้ว่า ผู้รับการปลูกถ่ายจะมีหน้าตาอย่างไรภายหลังการผ่าตัด


คณะทำงานชุดนี้เผยว่า ไม่ได้ต่อต้านการปลูกถ่ายใบหน้าในเชิงทฤษฎี ซึ่งอาจเป็นการเสนอโอกาสในการปฏิวัติการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ที่ใบ หน้าถูกทำลายด้วยอุบัติเหตุหรือโรคภัย แต่ก็ตั้งข้อสังเกตว่า การปลูกถ่ายใบหน้ากับคนจริงๆ ถือเป็นการกระทำโง่เขลา นอกจากจะมีการค้นคว้าเพิ่มเติม และมีการควบคุมโรคแทรกซ้อนที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นเท่านั้น

ทางด้านแชริตี เชนจิง เฟสเซส (Charity Changing Faces) แสดงทัศนะไปในทิศทางเดียวกันว่า มีคำถามสำคัญมากมายที่จำเป็นต้องตอบก่อนที่การผ่าตัดที่มีความเสี่ยงสูงมาก นี้ จะได้รับการยอมรับว่าเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้สำหรับคนไข้ที่เสียโฉมอย่าง รุนแรง

“ในความคิดของเรานั้น ด้วยความยอดเยี่ยมของการผ่าตัดแบบเดิม บวกกับโครงการฟื้นฟูสภาพจิตใจและสังคมที่ดีที่สุด สามารถทำให้คนไข้ที่หน้าตาเสียโฉมรุนแรง กลับมามีชีวิตที่สมบูรณ์และกระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง ขณะที่การปลูกถ่ายใบหน้าที่ยังต้องคาดเดากันต่อไป ไม่ถือเป็นความหวังสำหรับผู้เสียโฉม”

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


Two Player Games
Anime Internet Dress Up Games
Cubis 2 On Yahoo Games
Easter Games For Kids
Free Drivers Ed Games
Free Games For Blackberry
Free Online Bible Games
Free Online Games Kids
Funny Biz Games
Old Pc Games

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น