วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

“หมูน้อยกลายเป็นแฮม” เทคนิคสอนคณิตศาสตร์ให้จับต้องได้จากญี่ปุ่น

ศ.ดร.อากิยามากับรูปทรงเรขาคณิตที่สมมติว่าเป็นกบ ซึ่งสามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นรูปงูทรงสี่เหลี่ยมพื้นผ้าได้

กับสื่อการสอนมากมายที่ทำให้คณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่สัมผัสได้

แตง โมทรงกลมที่มีส่วนประกอบเป็นทรงกรวยหลายๆ อัน ซึ่งความสูงของกรวยก็คือรัศมีของทรงกลมนั่นเอง ซึ่งใช้อธิบายความที่มาของสูตรการหาปริมาตรทรงกลม

ล้อรถรูปทรงสามเหลี่ยมด้านโค้ง รูปแบบใหม่ของล้อรถที่มาจากสูตรทางคณิตศาสตร์

รูปทรงพิรามิดที่สร้างได้จากกระดาษรูปเรขาคณิตศาสตร์หลายรูปแบบ ผูกเรื่องให้นักเรียนสนใจด้วยการสมมติว่าเป็น "ซาซิมิ"

การทดลองฉีดของเหลวจากทรงครึ่งวงกลมเข้าวงกลม 2 รูป ทำให้เด็กเข้าใจสูตรของพื้นที่ผิวทรงกลมง่ายขึ้น

ครูคณิตศาสตร์ให้ความสนใจกับสื่อการสอนของ ศ.ดร.อากิยามา

เมื่อเอ่ยถึงคณิตศาสตร์หลายคนอาจรู้สึกปวด หัว หลายคนเห็นตัวเลขและสมการเยอะๆ ก็อาจส่ายหน้า บางคนก็นึกไม่ออกว่าจะเอาคณิตศาสตร์ไปใช้อย่างไรในชีวิตประจำวัน ยิ่งภาพห้องเรียนมีอาจารย์ดุๆ กับชอล์กและกระดานดำก็อาจทำให้หลายคนโล่งใจที่ผ่านช่วงหฤโหดของชีวิตมาได้ แต่น้อยคนนักที่จะมองเห็นความงามและตกหลุมรักศาสตร์แห่งตัวเลขแขนงนี้

วันนี้ (30 ก.ย.) ศ.ดร.จิน อากิยามา (Prof.Dr.Jin Akiyama) นักคณิตศาสตร์ชาวญี่ปุ่นผู้มีชื่อเสียงในการทำให้คณิตศาสตร์เป็นเรื่องสนุก ด้วยสื่อการเรียนที่จับต้องได้และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยด้านการพัฒนาการ ศึกษา มหาวิทยาลัยโตไก (Tokai University) ได้มาเปิดมุมมองใหม่ๆ ในหัวข้อ “Mathematics for Everybody” ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ให้กับผู้สนใจคณิตศาสตร์ ทั้งอาจารย์ผู้สอนจากโรงเรียนต่างๆ ตัวแทนจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และนักเรียน นักศึกษาที่สนใจกว่า 150 คน ตามคำเชิญของศูนย์จัดการเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.)

ลองคิดดูเล่นๆ ว่าถ้าล้อรถไม่ใช่วงกลมแล้วจะเป็นรูปทรงเรขาคณิตอะไรได้บ้าง? ศ.ดร.อากิยามาได้ใช้คณิตศาสตร์จนได้ล้อรูปทรงใหม่ๆ เป็นรูปสามเหลี่ยมที่ด้านทั้งสามเป็นเส้นโค้ง ซึ่งรถจำลองที่ใช้ล้อดังกล่าวก็สามารถเคลื่อนที่ไปได้โดยไม่สะดุด และนำไปประยุกต์ใช้กับงานไม้ได้ด้วยการใบมีดที่ด้านทั้งสามซึ่งเมื่อหมุนล้อ ก็จะได้หลุมที่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม

การ คำนวณหาปริมาตรของรูปทรง 14 หน้าอาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับเด็ก แต่ถ้าลองใส่จินตนาการลงไปเหมือนกับ ศ.ดร.อากิยามา เราก็จะได้ “เจ้าหมูน้อย” ที่กลายเป็นหมูแฮมรูปทรงสี่เหลี่ยม หรือจะเปลี่นยเนื้อเรื่องเป็นกบน้อยถูกงูกินด้วยการเปรียบรูปทรง 14 หน้าเป็นกบแล้วเปลี่ยนทรงสี่เหลี่ยมพื้นผ้าที่เปรียบเหมือนงู เท่านี้การคำนวณหาปริมาตรก็กลายเป็นเรื่องสนุกแล้ว

นอกจากนี้หลายคนอาจจะปวดขมับกับการจำสูตรพื้นที่ผิวของทรงกลม แต่ถ้าเรามีสูตรพื้นที่ผิวของวงกลมเป็นพื้นฐานแล้วก็ง่ายขึ้น ทั้งนี้ ศ.ดร.อากิยามาได้ทดลองให้เห็นว่าปริมาตรของเหลวในสายยาวที่ขดเป็นรูปครึ่ง ทรงกลมนั้นมีปริมาตรเท่ากับของเหลวในสายยางที่ขดเป็นรูปวงกลม 2 รูป นั่นคือพื้นที่ผิวของครึ่งทรงกลมเท่ากับพื้นที่ผิววงกลม 2 รูป จะได้สูตรของพื้นที่ผิวครึ่งทรงกลมเป็น 2pr2ดังนั้นพื้นที่ผิวทรงกลมจึงเท่ากับ 4pr2 เห็นหรือยังว่าคณิตศาสตร์นั้นสนุกแค่ไหนถ้าเราใส่จินตนาการลงไป

ศ.ดร.อากิยามานักคณิตศาสตร์ผู้มีมาดศิลปินกล่าวว่าในวัยเด็กนั้นพ่อ แม่และครอบครัวของเขาให้โอกาสในการเรียนรู้ อีกทั้งเขายังเติบโตท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติมากๆ เขาชอบสังเกตนก สังเกตผึ้ง ผีเสื้อและแมลงต่างๆ เขาจึงประทับใจกับสิ่งที่อยู่รอบตัว อีกทั้งเขายังชอบถอดประกอบอุปกรณ์ต่างๆ อาทิ นาฬิกาหรือจักรยานเป็นประจำ เขาจึงนำทักษะดังกล่าวมาใช้ในการสร้างสื่อการสอนคณิตศาสตร์

แล้ว เราเคยตั้งคำถามกันบ้างหรือไม่ว่าทำไมผ้าเป็นม้วนๆ ที่นำมาตัดเสื้อนั้นจึงต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยม คำถามนี้ติดอยู่ในใจของ ศ.ดร.อากิยามา จนเป็นแรงบันดาลให้เขาสร้างกล่องรูปทรงแปลกจากรูปทรงเรขาคณิตอื่นๆ อาทิ รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า รูปห้าเหลี่ยมด้านเท่าหรือรูปทรงแปดเหลี่ยม เป็นต้น และเขายังพบว่ารูปทรงพีรามิดนั้นไม่ว่าจะตัดและคลี่ออกเป็นรูปอะไรก็ตาม จะสามารถนำรูปนั้นมาต่อกันได้ไม่สิ้นสุดซึ่งเป็นหลักการเดียวกับการปู กระเบื้อง

อย่างไรก็ดี ศ.ดร.อากิยามาไม่ได้สร้างสื่อการสอนแค่เรื่องเรขาคณิตเท่านั้น เขายังทำให้แคลคูลัสเป็นเรื่องง่ายโดยการสร้างอุปกรณ์เป็นหลอดทดลองเล็กๆ หลายอันฉีดของเหลวเข้าหลอดทดลองขนาดใหญ่ 1 หลอด ซึ่งเป็นหลักการของการอินทิเกรตในวิชาแคลคูลัสอีกด้วย ทั้งนี้เขาสร้างสื่อการสอนคณิตศาสตร์ที่สัมผัสได้กว่า 500 ชิ้น ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการคำนวณทางทฤษฎีที่ซับซ้อน แต่ก็ทำให้เด็กๆ และคนทั่วไปเข้าใจได้อย่างง่ายๆ

พร้อมกันนี้ ศ.ดร.อากิยามากล่าวว่าเราต้องบอกลาการเรียนคณิตศาสตร์แบบเก่ๆ ที่มีเพียงชอล์กและกระดานดำ พร้อมกับคำสั่งของครูที่เด็กทำถูกก็เป็นเด็กดี ส่วนเด็กที่ทำไม่ถูกก็กลายเป็นเด็กไม่ดีไป ทั้งนี้ต้องเน้นการทดลองให้เด็กมีส่วนร่วมมากขึ้น ทำคณิตศาสตร์ให้กลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้ องค์ประกอบที่จะทำให้เด็กชอบคือต้องทำให้เด็กเกิดความประทับใจและมีความสุข เมื่อเด็กได้ทดลองก็จะชอบและประทับใจ ซึ่งความแปลกก็เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กตื่นเต้นและสนใจ

“เรา ไม่ควรเรียนคณิตศาสตร์เพียงเพื่อทำคะแนน แต่เราควรเรียนคณิตศาสตร์โดยมีเป้าหมายว่าจะทำให้ชีวิตของเราง่ายและสะดวก สบายขึ้น คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่สนุกนะเด็กๆ ทำไมไม่ลองที่จะเรียนรู้ดูล่ะ” ศ.ดร.อากิยามาฝากถึงเด็กๆ

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


How To Copy Wii Games
Music Games
Play Car Games
Play Free Online Rpg Games
Pool Party Games
The Last Stand Game
Free Tetris Games
Hot Free Online Games
Play Wrestling Games
Spiderman 3 Free Online Games

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น