วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เข้ารหัสควอนตัมบัตรเครดิต-ทำนาฬิกาให้เที่ยง ต่อยอดฟิสิกส์โนเบล 2005


เกลาเบอร์

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
จอห์น ฮอลล์

(ขวา) เฮนซ ฉลองหลังทราบว่าได้รับรางวัลโนเบล

การจะทำนาฬิกาอะตอมให้เที่ยงต้องมีเลเซอร์อ้างอิงที่มีความถี่มากกว่า

ปัจจุบันเราใช้ประโยชน์จากแสงเลเซอร์กัน อย่างแพร่หลาย แต่ท่านเคยสงสัยบ้างหรือไม่ว่าแสงเลเซอร์นั้นต่างจากแสงไฟของหลอดนีออนหรือ เปลวเทียนอย่างไร เราอาจจะไม่สนใจกับคำถามที่ดูห่างไกลปัญหาปากท้องนี้ แต่คนที่เขาคิดและตอบคำถามนี้ได้ก็รับรางวัลโนเบลฟิสิกส์ประจำปีนี้ไปเรียบ ร้อยแล้ว

เขาคนนั้นคือรอย เกลาเบอร์ (Roy J. Glauber) ศาสตราจารย์จากภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ได้คิดค้นทฤษฎีที่นำไปสู่ทฤษฎีควอนตัมของแสง พร้อมกันนี้ราชบัณฑิตยสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนยังได้ประกาศมอบรางวัล โนเบลฟิสิกส์ประจำปี 2005 ให้นักฟิสิกส์อีก 2 คน คือ จอห์น ฮอลล์ (John L. Hall) จากสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติสหรัฐหรือนิสต์ (National Institute of Standards and Technology: NIST) และประจำมหาวิทยาลัยโคโรลาโด สหรัฐฯ และธีโอดอร์ เฮนช (Theodor W. Hänsch) จากสถาบันควอนตัมฟิสิกส์แมกซ์ พลังก์ (MPQ : Max-Planck-Institut für Quantenoptik) และมหาวิทยาลัยลุดวิก-แม็กซิมิเลียนส์ (Ludwig-Maximilians-Universität) ในเยอรมนีด้วย

ดร.อรรถกฤต ฉัตรภูติ อาจารย์จากภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอธิบาย ว่ารางวัลโนเบลฟิสิกส์ปีนี้แยกเป็น 2 เรื่องคือในส่วนเกลาเบอร์นั้นเรื่องทฤษฎีควอนตัมของแสง (quantum optic) และส่วนของฮอลล์และเฮนซนั้นพัฒนาเทคนิคเพื่อใช้ศึกษาสเปกตรัมด้วยเลเซอร์ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการต่อยอดมาจากผลงานของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ในเรื่องปรากฏการณ์โฟโตอิเลกทริก

ทฤษฎีของเกลาเบอร์เป็นการศึกษา “แสงและการวัดแสง” ด้วยภาษาของควอนตัมฟิสิกส์ ผลงานของเขาทำให้เกิดสาขาใหม่ที่เรียกว่า Quantum Optics ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน ดร. อรรถกฤตอธิบายว่าทฤษฎีของเกลาเบอร์สามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างแสง เลเซอร์กับแสงเทียน ซึ่งเลเซอร์นั้นเป็นแสง “โคฮีเรนซ์” (Coherence) หรือ “แสงอาพันธ์” คือเป็นคลื่นที่มีความถี่และเฟสเดียวกัน ส่วนแสงเทียนนั้นปล่อยคลื่นหลายเฟสและหลายความถี่ โดยก่อนหน้านี้ไม่มีทฤษฎีที่สามารถอธิบายได้

“ถ้า เราลองจินตนาการว่าแสงเป็นคลื่นในลักษณะกระเพื่อมขึ้นลง นั่นคือมียอดคลื่นและท้องคลื่น ‘โคฮีเรนซ์’ หมายถึงการที่ยอดคลื่นหรือท้องคลื่นของคลื่นแสงต่างๆ ในลำแสงเดียวกันต่างเรียงเป็นแนวเดียวกันหมด นั่นคือพวกมันมีเฟสเดียวกัน (inphase) ขณะที่เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยความถี่หรือความยาวคลื่นเท่ากัน”

ทั้ง นี้ผลจากการค้นคว้าของเขา ยังนำสู่การเข้าใจธรรมชาติของแสงได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ทฤษฎีของเกลาเบอร์ยังมีส่วนในการพัฒนาการเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง เช่น เข้ารหัสทางควอนตัม (quantum cryptography) ที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยทางข้อมูล เช่นในระบบอินเทอร์เน็ตหรือบัตรเครดิต เป็นต้น โดยมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเครื่องนับจำนวนโฟตอนหรืออนุภาคแสงได้ทีละตัวที่ เรียกว่า “Single photon detector”

“ในอีกแง่หนึ่งผลงานของเกลาเบอร์ทำให้เราเข้าใจเรื่องสัญญาณรบกวนที่ เป็นผลจากควอนตัมฟิสิกส์ โดยในทางกลศาสตร์ควอนตัมนั้นการวัดแสงจะเกิดความไม่แน่นอนหรือความคลาด เคลื่อนอันเป็นผลจากหลักความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์ก (Heisenberg’s Uncertainty Principle) ซึ่งจะเป็นขีดจำกัดของการวัดสัญญาณที่ต้องการความละเอียดสูงๆ แต่ในปัจจุบันนักฟิสิกส์สามารถจะบีบสัญญาณแสงให้อยู่ในสถานะที่เรียกว่า squeezed light"

“ทำให้เราสามารถข้ามขีดจำกัดดังกล่าวไปได้ ทั้งนี้สถานะ “squeezed state” ของแสงยังคงเป็นไปตามหลักความไม่แน่นอน แต่เราจะสามารถที่เลือกวัดขนาดอำพน (แอมปลิจูด) หรือเลือกวัดเฟสของคลื่นอย่างใดอย่างหนึ่งได้แม่นยำมากขึ้น และเมื่อเราเข้าใจควอนตัมของแสงเราจะสามารถบีบแสงให้เล็กลงได้ซึ่งนำไปสู่ การประยุกต์และศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติได้อีกมาก”

ด้าน ดร.ศรันย์ สัมฤทธิ์เดชขจร นักวิจัยอิเล็กโตรออปติกส์ จากศูนย์เทคโนโลยีอิเลกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจำปี 2547 อธิบายงานของฮอลล์และเฮนซว่าทั้ง 2 ศึกษาเรื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยแสงเลเซอร์มาใช้ทำให้การวัดคลื่นความถี่มี ความละเอียดสูงมากขึ้น รวมถึงเทคนิค “หวีความถี่” (optical frequency comp technique) ซึ่งจะใช้แสงที่ถูกปล่อยออกมาในช่วงเวลาสั้นๆ หลายๆ พัลส์ ซึ่งพวกเขาสามารถผลิตแสงเลเซอร์ออกมาในช่วงเวลาที่สั้นถึง 10-12 วินาที ทำให้สามารถนำไปวัดอะไรก็ได้ รวมถึงใช้เป็นตัวอ้างอิงในการทำนาฬิกาอะตอมด้วย

“ลองนึกถึงหวีที่จะเป็นซี่ๆ แต่ละซี่ก็คือ 1 ความถี่ของคลื่นแสง หรืออาจจะมองว่าเป็นช่วงของเวลาก็ได้ โดยซี่ที่ 1 คือ 1 วินาที ซี่ที่ 2 คือวินาทีที่ 2 ถัดมาและซี่ที่ 3 ก็คือวินาทีที่ 3 ถัดมาเรื่อยๆ ซึ่งการปล่อยแสงในช่วงเวลาที่สั้นมากๆ เช่น 10 -12 วินาทีหรือมีความถี่ 1012 เฮริตซ์ ทำให้เราวัดอะไรได้หลายอย่าง เช่น วัดคลื่นมือถือซึ่งมีความถี่ 1.9 GHz เพราะคลื่นมือถือมีช่วงการปล่อยที่ยาวกว่า”

หลายคนอาจจะสงสัยว่าเทคนิคดังกล่าวไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ตัวอย่างหนึ่งของการประยุกต์ใช้คือใช้เป็นความถี่อ้างอิงสำหรับทำนาฬิกา อะตอมซึ่งอาศัยการสั่นของอนุภาคที่มีความถี่หลายล้านครั้งต่อวินาที ความคลาดเคลื่อนจึงอยู่ในระดับเศษเสี้ยวนับล้านของวินาที และการที่แสงเลเซอร์ซึ่งนักฟิสิกส์โนเบลทั้งสองสามารถพัฒนาให้มีความถี่นับล้านล้านครั้งต่อวินาที (10 12 เฮริตซ์) จึงใช้เป็นความถี่สร้างอ้างอิงสำหรับสร้างนาฬิกาอะตอมให้มีความแม่นยำมากขึ้นได้

นอกจากนี้ ดร.ศรันย์เล่าเกร็ดว่าทั้ง 3 คนคือเกลาเบอร์ ฮอลล์และเฮนซไม่เพียงศึกษาเกี่ยวกับเรื่องแสงอาพันธ์เท่านั้น พวกเขายังศึกษาเรื่องการทำอะตอมให้เย็นด้วยเลเซอร์อีกด้วย ซึ่งในปี 1997 ผู้ที่สามารถให้อะตอมเย็นลงก็ได้รับรางวัลโนเบล ต่อมาในปี 2000 มีนักฟิสิกส์สามารถให้อะตอมเย็นลงถึง 10 -9 K และก็ได้รับรางโนเบลเช่นกัน ทั้งนี้ตามทฤษฎีที่ไอน์สไตน์ทำร่วมกับสัตเยนทรานาถ โบส (Satyendranath Bose) นักฟิสิกส์ชาวอินเดีย เมื่ออะตอมเย็นถึงอุณภูมิดังกล่าวอะตอมทั้งหมดจะมาอยู่รวมกันจนบอกไม่ได้ว่า กี่อะตอม

ดร.ศรันย์อธิบายว่าโดยปกติอะตอมจะสั่นอยู่ตลอดเวลาซึ่งหากทำให้อะตอม อยู่นิ่งได้อุณหภูมิก็จะลดลง การลดอุณหภูมิของเลเซอร์จึงทำได้โดยการยิงอนุภาคที่มีขนาดเล็กระดับอะตอม เข้าไปชนในทิศทางตรงข้าม และการยิงแสงเลเซอร์ซึ่งประพฤติตัวเป็นโฟตอนได้ชนกับอะตอมหลายๆ ชุด จะทำให้อะตอมช้าลงและหยุดนิ่งในที่สุด และปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถทำอะตอมให้เย็นได้ถึง 450 x 10-12 K ส่วนการจะวัดว่าอะตอมเย็นแค่ไหนก็จะมีการคำนวณทางทฤษฎีเทียบกับขนาดของอะตอมอีกที


ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


Adventure Games Downloads
All The New Playstation2 Games Cheat
Arcade Games To Play
Car Games For Kids
Download Free Star Trek Games
Football Games To Play Online
Free Downloading Pool Games
Free Online Sniper Games
Free Printable Board Games
Game Give Away Of The Day

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น