วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

มนุษย์ล่องหนจากสายตา กาลเวลาหรือหัวใจ

มนุษย์ล่องหนจากสายตา เวลาหรือหัวใจ

(ซ้ายไปขวา) นายไพรัตน์ ยิ้มวิไลม ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ และครูช่าง

เรื่องของมนุษย์ล่องหนเป็นอีกจินตนาการอัน บรรเจิดที่โลดแล่นทั้งในแผ่นฟิล์มและนิยายวิทยาศาสตร์ เสน่ห์ที่เย้ายวนของการล่องหนน่าจะอยู่ที่เราสามารถทำอะไรก็ได้โดยที่ไม่ใคร เห็น แต่ว่าเสน่ห์ที่กล่าวมานั้นดีจริงหรือเปล่า

ความเย้ายวนของการล่องหนก็ดึงให้ ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ จากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) นายไพรัตน์ ยิ้มวิไล รองบรรณาธิการนิตยสารอัพเดต และนายชนประคัลภ์ จันทร์เรือง หรือ “ครูช่าง” นักแสดงและผู้กำกับละครมาร่วมเสวนากันในหัวข้อ “มนุษย์ล่องหน”กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เย็นวานนี้ (9 ก.ย.)

นายไพรัตน์ รอง บก.อัพเดตกล่าวว่าการที่วัตถุใดจะล่องหนได้วัตถุนั้นต้องไม่สะท้อนแสง ดังนั้นถ้ามีมนุษย์ล่องหนขึ้นจริง มนุษย์คนนั้นจะเป็นคนตาบอดเพราะแสงจะทะลุผ่านดวงตาเขาไปและไม่สามารรับแสง ได้ ไม่เช่นนั้นก็จะเห็นแต่ลูกตาลอยอยู่ แต่ในวงสนทนานั้นได้พุ่งเป้าไปที่การล่องหนจากการเดินทางในเวลาซึ่งมีทฤษฎี สัมพัทธภาพของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) เป็นประเด็นหลัก

ดร.บัญชากกล่าวว่าหากเราเดินทางไปในเวลาได้ก็นับเป็นการล่องหนจากที่ หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งการเดินทางไปยังอนาคตนั้นในทางฟิสิกส์ได้เกิดขึ้นแล้วแต่การเดินทางกลับ ไปในอดีตยังไม่เกิดขึ้น โดยยกตัวอย่างการทดลองนำนาฬิกาอะตอมติดไปกับเครื่องบินที่มีความเร็วเทียบ กับนาฬิกาอะตอมอีกเรือนที่อยู่บนโลก ผลพบว่านาฬิกาอะตอมเรือนแรกเดินช้ากว่านาฬิกาอะตอมที่อยู่บนโลก ทั้งนี้การทดลองดังกล่าวนอกจากจะเป็นการพิสูจน์ทฎษฏีสัมพัทธภาพแล้วยังเป็น การยืนยันว่าหากเราสามารถเคลื่อนด้วยความเร็วสูงเราก็จะสามารถเดินทางไปใน อนาคตของอีกคนที่เคลื่อนที่ช้ากว่าได้

สำหรับประเด็นว่าถ้าคนเราล่องหนได้จริงจะเกิดผลกระทบอย่างไรกับโลก นายไพรัตน์ให้ความเห็นว่าต้องพิจารณาว่าเราล่องหนด้วยวิธีไหน หากเป็นการล่องหนด้วยการเดินทางในเวลาก็ต้องถามว่าจะเดินทางไปทำอะไร ทั้งนี้การเดินทางกลับไปในอดีตนั้นอาจส่งผลกระทบที่ไม่อาจประเมินได้ใน ปัจจุบันและอนาคต พร้อมทั้งยกตัวอย่างภาพยนตร์ Butterfly Effect ที่ตัวเอกเดินทางกลับไปแก้ไขอดีตแต่ได้สร้างความเสียหายที่คาดไม่ถึง

ด้าน “ครูช่าง” ให้ความเห็นว่าหากคนเราสามารถสร้างเทคโนโลยีดังกล่าวได้จริงก็เป็นเรื่องน่า กลัวมากถ้าตกไปอยู่กับคนเห็นแก่ตัว หากจิตใจของมนุษย์ยังไม่ถูกพัฒนาก็อย่าทำเทคโนโลยีดังกล่าวขึ้นมาดีกว่า แต่ถ้ามนุษย์พร้อมและเลิกเห็นแก่ตัวก็เป็นเรื่องดี เพราะโดยส่วนตัวของครูช่างแล้วก็อยากไปเห็นอนาคตตอนตัวเองตายว่าเป็นอย่างไร หรือลูกจะเติบโตไปเป็นอย่างไร อย่างน้อยๆ ก็จะได้ทำใจ

ครู ช่างยังกล่าวอีกว่าเมื่อมองด้วยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแล้ว จะล่องหนหรือไม่ล่องหนนั้น ให้พิจารณาว่าทุกอย่างเป็นทุกขัง (ทุกอย่างเป็นทุกข์) อนิจจัง (ทุกอย่างไม่เที่ยง) และอนัตตา (ทุกอย่างไม่มีตัวตน) ดังนั้นไม่มีอะไรที่เป็นแก่นสารที่จะยึดถือได้ ก็ล่องหนได้แล้ว

นอกจากนี้ ดร.บัญชายังได้ยกอีกความหมายของการล่องหนว่าบางครั้งระหว่างการพูดคุยแต่คู่ สนทนาไม่ได้สนใจเราหรือหันไปสนใจสิ่งอื่นก็นับว่าเราได้ล่องหนไปจากสายตาของ ผู้สนทนาแล้ว ไม่ว่าอย่างไรก็ตามการมีตัวตนที่แท้คงเป็นสิ่งที่ทุกคนใฝ่ฝันมากกว่าเพราะเราคงอยากเป็นผู้ที่คนอื่นมองเห็นความสำคัญมากกว่า

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


Play Horse Games
Unlimited Play Games
Download Free Nokia Java Games
Free Pokemon Pc Game Downloads
Free Wii Games
Mini Clip Games
Most Fun Free Games
Play The Game Tron On The Computer
Printable Board Games To Make
Spiderman The Game For Free Download

เผยเรื่องจริง “โลกคู่ขนาน” และ “มิติ” ที่ขดซ่อนตัว

ดร.อรรถกฤต ฉัตรภูติ
การเดินทางข้าม มิติจาก ”โลกคู่ขนาน” เพื่อไปพบตัวเราในอีกโลกหนึ่งที่คล้ายกันเป็นจินตนาการที่พบได้ทั่วไปใน นิยายวิทยาศาสตร์และภาพยนตร์แนว “ไซไฟ” อีกทั้งเหตุการณ์ที่ อ.แม่จัน จ.เชียงรายซึ่งยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าเป็นอะไรกันแน่นั้นก็มีข้อสันนิษฐานว่า มนุษย์ต่างดาวอาจทำลายมิติจากโลกคู่ขนานเพื่อมาปรากฏตัว แต่จริงๆ แล้ว “มิติ” และ “โลกคู่ขนาน” ตามความหมายวิทยาศาสตร์นั่นคืออะไรกันแน่

ผู้จัดการวิทยาศาสตร์จะพาไปหาคำตอบกับ ดร.อรรถกฤต ฉัตรภูติ จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ในบางคำอธิบายเกี่ยวกับโลกคู่ขนานนั้นต้องใช้ทฤษฎีทางฟิสิกส์ที่ชื่อว่า “ทฤษฎีสตริง” (String Theory) อธิบาย และในเมืองไทยก็มีเพียงไม่กี่คนที่ศึกษาทฤษฎีดังกล่าวและ ดร.อรรถกฤต ก็เป็นหนึ่งในนั้น ซึ่งได้เผยว่าการเดินทางข้ามมิติจากโลกที่มีมิติมากกว่านั้นไม่ใช่ความหมาย ในทางฟิสิกส์

มิติในทางฟิสิกส์ไม่ได้ หมายถึงมิติลี้ลับ มิติมหัศจรรย์หรือว่าอีกโลกหนึ่ง แต่หมายถึง Dimension ในภาษาอังกฤษซึ่งมีความหมายทางคณิตศาสตร์ อย่างเช่น จุด (.) มีมิติเป็นศูนย์หรือไม่มิติ เส้นตรงก็มี 1 มิติ ส่วนพื้นที่เป็น 2 มิติ และปริมาตร 3 มิติก็เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยมีกว้าง ยาว สูง ในทางคณิตศาสตร์คุณสามารถมีมิติเท่าไหร่ก็ได้ แต่อวกาศหรือที่ว่างที่เราเห็นนั้นเป็น 3 มิติ” ดร.อรรถกฤตอธิบายพร้อมเพิ่มเติมว่าในการเคลื่อนที่ของวัตถุนั้นนอกจากขึ้น กับพื้นที่แล้วยังขึ้นอยู่กับเวลาด้วยซึ่งในทางคณิตศาสตร์นับเป็นอีกมิติ หนึ่งได้กลายเป็น 4 มิติที่เรียกว่า “สเปซ-ไทม์” (space time) หรือ กาล-อวกาศ

ดร.อรรถกฤตกล่าวว่ามีหลายทฤษฎีที่แสดงความเป็นไปได้ว่าจะมีมากกว่า 4 มิติ โดยใน ค.ศ.1921 ธีโอดอร์ คาลูซา (Theodor Kaluza) สันนิษฐานว่ากาล-อวกาศมี 5 มิติ ซึ่งมิติที่เกินมานั้นเรียกว่ามิติพิเศษ (extra-dimension) ซึ่งคาลูซาต้องตอบให้ได้ว่ามิติดังกล่าวหายไปไหน และเขาก็มีกลวิธีในการอธิบายว่ามิติดังกล่าวขดตัวอยู่ (Compactify) กลายเป็นมิติที่เล็กมากจนมองไม่เห็น แต่การนำเสนอของคาลูซาไม่รับความสนใจนัก จนกระทั่งเริ่มมีการศึกษาแนวคิดดังกล่าวมากขึ้นในช่วงประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ดร.อรรถกฤตเปรียบเทียบการขดดังกล่าวเหมือนการขดกระดาษเป็นทรงกระบอก หากรัศมีของการขดสั้นกว่าความยาวคลื่นของแสงจะไม่สามารถสะท้อนเป็นภาพออกมา ให้มองเห็นได้ ซึ่งนักฟิสิกส์ก็พยายามจะพิสูจน์ว่ามิติดังกล่าวมีจริงหรือไม่ ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้จะมีการทดลองยิงอนุภาคด้วยเครื่องเร่งอนุภาค “แอลเอชซี” (LHC: Large-Hadron Collinder) ของห้องปฏิบัติการเซิร์น (CERN) อันเป็นองค์กรการวิจัยด้านนิวเคลียร์ ตั้งอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ โดยตามหลักกลศาสตร์ควอนตัมต้องใช้พลังงานจำนวนมหาศาลเพื่อทำให้อนุภาคที่ สามารถเป็นได้ทั้งคลื่นและอนุภาคนั้นมีความยาวคลื่นสั้นลง จนเล็กพอที่จะเห็นมิติที่ขดซ่อนอยู่ได้

สำหรับการทำลายมิติหรือการทะลุมิติในทางวิทยาศาสตร์นั้นดูจะต่างจาก ความเข้าใจของคนส่วนใหญ่โดยสิ้นเชิง ซึ่ง ดร.อรรถกฤตอธิบายว่าในทางฟิสิกส์แล้วการทำลายมิติน่าจะหมายถึงการเร่งให้ พลังงานสูงพอที่จะขยายมิติพิเศษที่นอกเหนือไปจากมิติทั้ง 4 ซึ่งขดอยู่ออกมาให้เห็นได้ เปรียบเหมือนกับเส้นลวดเล็กๆ ที่ดูเผินๆ เหมือนจะเป็นวัตถุ 1 มิติ แต่ถ้าเราเอาแว่นขยายไปสองแล้วเห็นพื้นผิวของเส้นลวด ซึ่งกลายเป็นว่าจาก 1 มิติก็เห็นเป็น 2 มิติ

ส่วนเรื่องโลกคู่ขนานนั้น ดร.อรรถกฤตกล่าวว่าส่วนหนึ่งมาจากทฤษฎีสตริงซึ่งใช้อธิบายการกำเนิดจักรวาล แต่โลกคู่ขนานนั้นแบ่งได้หลายอย่าง อย่างแรกคือโลกคู่ขนานแบบควอนตัม (quantum parallel universe) ซึ่งพัฒนามาเมื่อประมาณ ค.ศ.1957 โดยนักฟิสิกส์ชื่อ ดร.ฮิวจ์ เอเวอร์เรต (Dr.Hugh Everett) เพื่อแก้ปัญหาทางเทคนิคในทฤษฎีควอนตัมด้วยการสมมติว่ามีโลกคู่ขนาน อยู่

เรื่องของกาล-อวกาศ บางครั้งก็เกินกว่าจินตนาการจะรับรู้
“การวัดสำหรับควอนตัม เป็นเรื่องของความน่าจะเป็น เช่น การทอดลูกเต๋าซึ่งเปรียบเหมือนการวัด คุณอาจจะทอดได้หนึ่งหรือคุณอาจจะทอดลูกเต๋าได้สอง พอคุณทอดลูกเต๋าได้แล้ว รู้ว่าได้หนึ่ง อนาคตคุณก็จะเป็นไปตามลูกเต๋าหน้าที่คุณทอดได้หนึ่ง แต่ถ้าคุณทอดได้หก อนาคตคุณก็จะเป็นไปตามที่ทอดได้หก ระหว่างที่คุณทอดและลูกเต๋าอยู่ในถ้วย คุณครอบอยู่ คุณไม่มีทางรู้ว่าลูกเต๋าเป็นอะไร ทุกครั้งที่คุณเปิดคือคุณเลือกช้อยส์ (ตัวเลือก) ซึ่งตามทฤษฎีในกรณีนี้จะมีโลกคู่ขนานอยู่ 6 โลก ถ้าคุณเลือกได้เลขหนึ่งตัวคุณก็อยู่ในโลกหนึ่ง โดยที่เราไม่สามารถติดต่อกับโลกคู่ขนานอื่นๆ ได้เลย” ดร.อรรถกฤตยกตัวอย่างซึ่งโลกอื่นๆ ที่เราไม่เลือกนั้นก็คือโลกคู่ขนานที่เราไม่ทราบว่าคืออะไร

โลกคู่ขนานอีกประเภทที่ ดร.อรรถกฤตอธิบายคือโลกคู่ขนานแบบ String theory multi-universes แนวคิดเรื่องเอกภพคู่ขนานในกลุ่มนี้ เป็นแนวคิดที่ได้มาจากทฤษฎีเส้นเชือก (String Theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่สร้างขึ้นมาเพื่อที่จะอธิบายธรรมชาติของแรงโน้มถ่วงในระดับ พลังงานสูงๆ ซึ่งเพียงทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ที่ใช้อธิบายแรงดังกล่าวไม่สามารถแก้ปัญหาสำคัญๆ ที่พบในการศึกษาจักรวาลวิทยาได้ เช่น ปัญหาเช่น ปัญหาสสารมืด (Dark matter problem) และปัญหาพลังมืด (Dark Energy problem) เป็นต้น ทั้งนี้ในวิชาฟิสิกส์แบ่งแรงออกเป็น 4 ชนิดคือแรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และแรงนิวเคลียร์แบบเข้ม แต่ในบรรดาแรงทั้งหมดเราเข้าใจแรงโน้มถ่วงน้อยที่สุด

“อย่างไรก็ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพก็มีข้อจำกัด เพราะไม่สามารถอธิบายพฤติกรรมของแรงโน้มถ่วง ในสถานะการที่มีพลังงานสูงๆได้ เช่น ถ้าต้องการอธิบายการกำเนิดของเอกภพเป็นต้น นอกจากนี้ในปัจจุบันการศึกษาจักรวาลโดยอาศัยทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปไม่สามารถ ตอบปัญหาสำคัญๆ เช่น ปัญหาสสารมืดและปัญหาพลังมืด ได้ นักฟิสิกส์จึงต้องการทฤษฎีอื่นเพื่อที่จะช่วยเสริมในจุดที่ทฤษฎีควอนตัมและ ทฤษฎีสัมพัทธภาพไม่สามารถอธิบายได้ ซึ่งทฤษฎีสตริง ก็เป็นตัวเลือกหนึ่งของทฤษฎีดังกล่าว”

“ในทฤษฎีสตริง อนุภาคถูกอธิบายว่ามีลักษณะเป็นเส้นเชือกหนึ่งมิติ โดยการสั่นของเส้นเชือกนี้ทำให้เกิดเป็นตัวโน้ตต่างๆ ตัวโน้ตหนึ่งตัวสามารถแทนอนุภาคได้หนึ่งตัว ตัวโน้ตที่ต่างคีย์กันก็จะให้อนุภาคที่ต่างชนิดกัน ในการที่จะให้ทฤษฎีสตริงมีคุณสมบัติทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสม นักฟิสิกส์พบว่าจำนวนมิติของเอกภพจะต้องมีถึง 10 มิติคือ เวลาหนึ่งมิติและอวกาศอีก 9 มิติ ยิ่งไปกว่านั้นในในทฤษฎีเอ็ม (M-theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่พัฒนาต่อมาจากทฤษฎีเส้นเชือก กาล-อวกาศอาจจะมีได้ถึง 11 มิติ คือเวลา 1 มิติและอวกาศอีก 10 มิติ แต่ในเอกภพของเรานั้น เราสังเกตจำนวนมิติได้เพียงแค่ 4 มิติ ทฤษฎีสตริงจึงอธิบายว่ามิติที่เกินมาหรือมิติพิเศษ (Extra dimension) นั้นขดตัวอยู่โดยที่ขนาดของมันเล็กมากจนเราไม่สามารถสังเกตได้”

ส่วนแนวคิดเรื่องสุดท้ายเกี่ยวกับโลกคู่ขนานคือ Inflation multi-universes ซึ่งเป็นแนวคิดที่พัฒนามาจากการศึกษาจักรวาลวิทยา (cosmology) หรือการศึกษาเกี่ยวกับการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดร.อรรถกฤตได้อธิบายว่าจุดกำเนิดของเอกภพเริ่มมาจาก “บิ๊กแบง” แต่เนื่องจากความรู้ที่เรามีอยู่จำกัดในปัจจุบันทำให้เราไม่สามารถเข้าใจการ กำเนิดของเอกภพได้ดีนัก อังเดร ลินเด (Andre Linde) นักฟิสิกส์จึงได้เสนอทฤษฎีโลกคู่ขนานแบบ “บับเบิล” (bubble universe theory)

ดร.อรรถกฤตอธิบายถึงแนวคิดของทฤษฎีดังกล่าวว่าภายหลังเหตุการณ์บิ๊ก แบง เอกภพมีพลังงานและความหนาแน่นสูงมาก และกาล-อวกาศมีความผันผวนสูงมากคือมีความไม่ต่อเนื่องเป็นเนื้อเดียวกัน เพราะมีการสั่นอย่างรุนแรง คล้ายกับน้ำเดือดแล้วมีฟองผุดขึ้นมา หากการสั่นดังกล่าวรุนแรงมากอาจทำให้กาล-อวกาศบางส่วนหลุดออกมาได้ เรียกว่า “ควอนตัมโฟม” (quantum foam) หรือ “ควอนตัมบับเบิล” (quantum bubble)

“ได้ข้อสรุปว่าอวกาศแบบนี้เกิดขึ้นได้ ที่น่าสนใจคือว่าบับเบิลพวกนี้มีโอกาสเกิดได้หลายฟอง เหมือนน้ำเดือดก็มีฟองอากาศได้หลายฟอง แต่ละฟองก็เจริญเติบโตไปเป็นจักรวาลที่ต่างกัน เป็นอีกจักรวาล อีกเอกภพที่ต่างกัน ทุกวันนี้จักรวาลของเราก็ขยายตัวใหญ่ขึ้นๆ ถ้าตามทฤษฎีนี้ก็อาจจะมีจักรวาลอื่น แต่ว่าจักรวาลอื่นอาจจะมีค่าคงที่ทางฟิสิกส์ซึ่งไม่เหมือนกับเราเลย เช่น ประจุอิเล็กตรอนอาจจะไม่เท่านี้ ค่าคงที่แรงโน้มถ่วงของนิวตันอาจจะเปลี่ยนไป หรือว่าจำนวนมิติของเอกภพอาจจะไม่เท่ากับ 3+1 แต่เป็น 1+1 อะไรอย่างนี้ มันมีโอกาสจะเกิดได้ต่างๆ กัน เราเพียงแต่โชคดีที่มาอยู่ในนี้ที่เป็นสเปซ(อวกาศหรือที่ว่าง) 3 มิติ +1 ซึ่งเป็นมิติของเวลา”

“การที่เราเป็นสิ่งมีชีวิตอยู่อย่างที่เป็นอยู่ขณะนี้ได้ เพราะเราโชคดีที่เกิดในเอกภพที่มีค่าคงที่ทางฟิสิกส์อย่างที่มันควรเป็น ปฏิกิริยาเคมีเกือบทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะอันตรกิริยาทางไฟฟ้าของอิเล็กตรอน ถ้าประจุไฟฟ้าเกิดมีค่าที่ต่างไปจากนี้ พันธะเคมีอาจจะเกิดไม่ได้เลย เมื่อพันธะเคมีเกิดไม่ได้ สารอินทรีย์ก็ไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้ในธรรมชาติ และก็จะไม่มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้น หรือถ้ามีก็อาจจะมีสิ่งมีชีวิตในรูปแบบอื่น แต่ว่าไม่เหมือนเราแน่นอน เพราะ ฉะนั้นถ้าคุณข้ามจักรวาล "บับเบิล" ของเราไปจักรวาลบับเบิลของคนอื่นก็จะมีปัญหาล่ะ เพราะกฎทางฟิสิกส์อาจจะต่างกัน คุณอาจจะตายไปเลยก็ได้ ซึ่งก็ดูไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่ที่จะข้ามไปยังโลกอื่น เพราะเราอยู่ในที่ซึ่งเหมาะกับเราแล้ว

อย่าง ไรก็ดี ดร.อรรถกฤตกล่าวว่าแนวคิดเกี่ยวกับโลกคู่ขนานและมิติที่ขดซ่อนตัวนั้นยัง เป็นเพียงทฤษฎีซึ่งอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ ซึ่งนักฟิสิกส์ไม่ได้สนใจว่าสิ่งเหล่านั้นจะมีจริงหรือไม่แต่สนใจเพียงการ อธิบายธรรมชาติเท่านั้น

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


Play Sonic Games Online
Play The Game Of Life Online
Playstation Full Games Download
Super Bowl Home Party Games
The Powder Game
Free Games To Download
Free Hunting Game Downloads
Free Printable Kid Games
Games For Wii
Online Adventure Games

“Face Off” ปลูกถ่ายหน้าใหม่ ฝันที่ใกล้วันเป็นจริง

ศัลยแพทย์มาเรีย ไซมิวโนว์ ศัลยแพทย์พลาสติก กำลังพยายามจะปลูกถ่ายใบหน้าจากศพผู้บริจาคให้แก่ผู้รับบริจาคที่หน้าเสีย โฉมเป็นครั้งแรกของโลก

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
Face Off การเปลี่ยนหน้าใหม่ แทนหน้าเก่า จะไม่ใช่แค่เรื่องจินตนาการในหนังไซไฟอีกต่อไป

ดร. ไซมิวโนว์ ขณะกำลังผ่าตัดคนไข้รายหนึ่งในคลีฟแลนด์ คลินิก

แมท ทิว เทฟเฟลเลอร์ ในรัฐเทนเนสซี ซึ่งประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อ 3 ปีก่อน และพยายามผ่าตัดปลูกถ่ายผิวหนังใบหน้าอยู่หลายครั้ง แม้ว่าเขาจะเหมาะสมที่จะเข้าเป็นคนไข้การผ่าตัดเปลี่ยนหน้า แต่เขาก็ปฏิเสธที่จะไปพบ ดร.ไซมิวโนว์

การ์เดียน/บีบีซีนิวส์ - ในอีกไม่กี่สัปดาห์ ข้างหน้า ศัลยแพทย์อเมริกันจะเริ่มต้นการสัมภาษณ์คนไข้กลุ่มเล็กๆ เพื่อเฟ้นหาผู้ที่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวงในการเข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายใบ หน้ารายแรกของโลก

ทีม แพทย์จากคลีฟแลนด์ คลินิก (Cleveland Clinic) จะต้องคัดเลือกคนไข้หนึ่งคนที่ใบหน้าเสียโฉม เพื่อรับใบหน้า “ใหม่” จากผู้บริจาคที่เสียชีวิตไปแล้ว โดยโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมีเพียง 50-50 ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญหลายกลุ่มแสดงความกังวลในด้านความปลอดภัยและจริยธรรม ของกระบวนการนี้

ภายหลังการถกเถียงนานหนึ่งปีเต็ม คลีฟแลนด์ คลินิกก็ได้รับอนุมัติจากคณะกรรรมการตรวจสอบภายใน ซึ่งประกอบด้วยศัลยแพทย์ จิตแพทย์ เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ นักบำบัด พยาบาล และตัวแทนคนไข้ ให้เดินหน้าการผ่าตัดปลูกถ่ายใบหน้า

กระบวน การนี้จะเกี่ยวข้องกับการลอกผิวหนังและเนื้อเยื่อจากใบหน้าผู้บริจาคที่เสีย ชีวิต มาปลูกถ่ายลงบนใบหน้าผู้รับบริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่

โปรแกรมการจำลองแบบในคอมพิวเตอร์บ่งชี้ว่า ใบหน้าใหม่จะไม่เหมือนทั้งผู้บริจาค และผู้รับบริจาค (ในสภาพเดิมก่อนเสียโฉม) โดยใบหน้าใหม่จะมีลักษณะตามโครงหน้าของผู้รับบริจาค มากกว่าเนื้อเยื่ออ่อนนุ่มของผู้ให้บริจาค

ผู้รับการปลูกถ่ายจะต้องสามารถกินอาหาร ดื่มน้ำ กระพริบตา รวมถึงแสดงออกทางสีหน้า และสื่อสารได้อีกครั้ง

ศัลยแพทย์มาเรีย ไซมิวโนว์ (Maria Siemionow) และทีมงาน จะสัมภาษณ์คนไข้ชาย 5 คน และคนไข้หญิง 7 คน ซึ่งเป็นผู้สมัครเข้ารับการผ่าตัดที่ต้องใช้เวลา 8-10 ชั่วโมง และต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล 10-14 วัน โดย ดร.ไซมิวโนว์แสดงเจตนารมณ์ว่า ต้องการเลือกคนไข้ที่เสียโฉมจริงๆ ไม่ใช่แค่มีแผลขีดข่วนเล็กน้อยเท่านั้น

ดร.ไซมิวโนว์จะศึกษาโหนกแก้ม ริมฝีปาก และจมูกของคนเหล่านั้น รวมถึงถามพวกเขาว่า คาดหวังจะได้อะไร และกลัวอะไรมากที่สุด รวมถึงคำถามว่า “คุณกลัวหรือไม่ว่าหน้าตาจะออกมาเหมือนคนอื่น?”

ผู้ที่ได้รับเลือกจะต้องมีสุขภาพผิวดีพอสำหรับการผ่าตัดแบบดั้งเดิม ที่ยังหลงเหลือรอยแผลเป็น ที่ทำให้ผิวหนังดูไม่เหมือนและไม่สามารถเคลื่อนไหวได้แบบเดียวกับผิวหนัง ธรรมชาติ ในกรณีที่การปลูกถ่ายล้มเหลว

เขาหรือเธอผู้นี้จะได้รับแจ้งว่า จะถูกผ่าตัดลอกใบหน้าเดิมออก และแทนที่ด้วยใบหน้าจากผู้บริจาคที่เสียชีวิตแล้ว ซึ่งมีเนื้อเยื่อ อายุ เพศ และสีผิวที่เข้ากันได้ โดยที่ต้องมีการเชื่อมต่อเส้นเลือดจากเนื้อเยื่อผู้บริจาคกับเนื้อเยื่อของ ผู้รับบริจาค เช่นเดียวกับการเชื่อมต่อปลายเส้นประสาท

ผู้ เข้ารับการปลูกถ่ายยังจะได้รับรู้เรื่องอาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น ซึ่งอาจรวมถึงการที่สีผิวบนใบหน้ากลายเป็นสีดำ ซึ่งจำเป็นต้องปลูกถ่ายรอบสอง หรือฟื้นฟูด้วยการตัดผิวหนังชั้นนอกจากส่วนอื่นๆ ของร่างกายมาโปะแทน

นี่ไม่ใช่รายการแปลงโฉมทางทีวี แต่เป็นเขตแดนทางการแพทย์ที่สำรวจค้นโดย ดร.ไซมิวโนว์ ที่ต้องการแสดงให้สาธารณชนเข้าใจในสิ่งที่เธอกำลังพยายามทำอยู่

เธอบอกว่า คนเหล่านี้สูญเสียอัตลักษณ์ที่เกี่ยวโยงกับใบหน้า และการปลูกถ่ายเป็นเสมือนการนำผิวหนังมาห่อหุ้ม และสอดใส่อัตลักษณ์ของบุคคลผู้นั้นไว้ภายใน

ฝ่ายที่เห็นด้วยตั้งข้อสังเกตถึงประสบการณ์และการวางแผนอย่างรอบคอบ ของไซมิวโนว์ตลอดจนทีมผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้ความช่วยเหลือ และการทดลองปลูกถ่ายกับสัตว์และร่างกายผู้เสียชีวิตมานับสิบครั้ง เพื่อให้เทคนิคนี้สมบูรณ์แบบที่สุด

ในทางตรงข้าม ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยโจมตีว่า กระบวนการนี้เสี่ยงเกินไป อีกทั้งเป็นอะไรที่นอกเหนือไปจากความเป็นหรือความตาย โดยมีการสมมติสถานการณ์เลวร้ายที่สุดว่า ร่างกายต่อต้านใบหน้าใหม่ ทำให้เนื้อตาย ผลคือใบหน้าคนไข้แย่กว่าเก่า

ว่าที่จริง กระแสต่อต้านการผ่าตัดปลูกถ่ายใบหน้ามีมาก่อนหน้านี้แล้ว ตั้งแต่ที่แพทย์ในฝรั่งเศสและอังกฤษออกมาพูดถึงแผนการนี้ อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการปลูกถ่ายใบหน้ากับคนจริงแต่อย่างใด

รอยัล คอลเลจ ออฟ เซอร์เจนส์ ออฟ อิงแลนด์ (Royal College of Surgeons of England) ที่ก่อตั้งคณะทำงานศึกษาประเด็นนี้ตั้งแต่ต้นปี ชี้ว่า ผู้รับการปลูกถ่ายใบหน้าจะต้องกินยาป้องกันไม่ให้ร่างกายปฏิเสธเนื้อเยื่อ แปลกปลอมจากคนอื่นไปตลอดชีวิต ซึ่งอาจก่อความเสี่ยงต่อสุขภาพในระยะยาว อีกทั้งยังไม่รู้ชัดว่า ผู้รับการปลูกถ่ายและคนรอบข้าง จะปรับตัวเข้ากับหน้าใหม่ในทางจิตวิทยาได้หรือไม่

นอกจากนั้น ยังยากที่จะคาดได้ว่า ผู้รับการปลูกถ่ายจะมีหน้าตาอย่างไรภายหลังการผ่าตัด


คณะทำงานชุดนี้เผยว่า ไม่ได้ต่อต้านการปลูกถ่ายใบหน้าในเชิงทฤษฎี ซึ่งอาจเป็นการเสนอโอกาสในการปฏิวัติการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ที่ใบ หน้าถูกทำลายด้วยอุบัติเหตุหรือโรคภัย แต่ก็ตั้งข้อสังเกตว่า การปลูกถ่ายใบหน้ากับคนจริงๆ ถือเป็นการกระทำโง่เขลา นอกจากจะมีการค้นคว้าเพิ่มเติม และมีการควบคุมโรคแทรกซ้อนที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นเท่านั้น

ทางด้านแชริตี เชนจิง เฟสเซส (Charity Changing Faces) แสดงทัศนะไปในทิศทางเดียวกันว่า มีคำถามสำคัญมากมายที่จำเป็นต้องตอบก่อนที่การผ่าตัดที่มีความเสี่ยงสูงมาก นี้ จะได้รับการยอมรับว่าเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้สำหรับคนไข้ที่เสียโฉมอย่าง รุนแรง

“ในความคิดของเรานั้น ด้วยความยอดเยี่ยมของการผ่าตัดแบบเดิม บวกกับโครงการฟื้นฟูสภาพจิตใจและสังคมที่ดีที่สุด สามารถทำให้คนไข้ที่หน้าตาเสียโฉมรุนแรง กลับมามีชีวิตที่สมบูรณ์และกระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง ขณะที่การปลูกถ่ายใบหน้าที่ยังต้องคาดเดากันต่อไป ไม่ถือเป็นความหวังสำหรับผู้เสียโฉม”

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


Two Player Games
Anime Internet Dress Up Games
Cubis 2 On Yahoo Games
Easter Games For Kids
Free Drivers Ed Games
Free Games For Blackberry
Free Online Bible Games
Free Online Games Kids
Funny Biz Games
Old Pc Games

“หมูน้อยกลายเป็นแฮม” เทคนิคสอนคณิตศาสตร์ให้จับต้องได้จากญี่ปุ่น

ศ.ดร.อากิยามากับรูปทรงเรขาคณิตที่สมมติว่าเป็นกบ ซึ่งสามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นรูปงูทรงสี่เหลี่ยมพื้นผ้าได้

กับสื่อการสอนมากมายที่ทำให้คณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่สัมผัสได้

แตง โมทรงกลมที่มีส่วนประกอบเป็นทรงกรวยหลายๆ อัน ซึ่งความสูงของกรวยก็คือรัศมีของทรงกลมนั่นเอง ซึ่งใช้อธิบายความที่มาของสูตรการหาปริมาตรทรงกลม

ล้อรถรูปทรงสามเหลี่ยมด้านโค้ง รูปแบบใหม่ของล้อรถที่มาจากสูตรทางคณิตศาสตร์

รูปทรงพิรามิดที่สร้างได้จากกระดาษรูปเรขาคณิตศาสตร์หลายรูปแบบ ผูกเรื่องให้นักเรียนสนใจด้วยการสมมติว่าเป็น "ซาซิมิ"

การทดลองฉีดของเหลวจากทรงครึ่งวงกลมเข้าวงกลม 2 รูป ทำให้เด็กเข้าใจสูตรของพื้นที่ผิวทรงกลมง่ายขึ้น

ครูคณิตศาสตร์ให้ความสนใจกับสื่อการสอนของ ศ.ดร.อากิยามา

เมื่อเอ่ยถึงคณิตศาสตร์หลายคนอาจรู้สึกปวด หัว หลายคนเห็นตัวเลขและสมการเยอะๆ ก็อาจส่ายหน้า บางคนก็นึกไม่ออกว่าจะเอาคณิตศาสตร์ไปใช้อย่างไรในชีวิตประจำวัน ยิ่งภาพห้องเรียนมีอาจารย์ดุๆ กับชอล์กและกระดานดำก็อาจทำให้หลายคนโล่งใจที่ผ่านช่วงหฤโหดของชีวิตมาได้ แต่น้อยคนนักที่จะมองเห็นความงามและตกหลุมรักศาสตร์แห่งตัวเลขแขนงนี้

วันนี้ (30 ก.ย.) ศ.ดร.จิน อากิยามา (Prof.Dr.Jin Akiyama) นักคณิตศาสตร์ชาวญี่ปุ่นผู้มีชื่อเสียงในการทำให้คณิตศาสตร์เป็นเรื่องสนุก ด้วยสื่อการเรียนที่จับต้องได้และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยด้านการพัฒนาการ ศึกษา มหาวิทยาลัยโตไก (Tokai University) ได้มาเปิดมุมมองใหม่ๆ ในหัวข้อ “Mathematics for Everybody” ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ให้กับผู้สนใจคณิตศาสตร์ ทั้งอาจารย์ผู้สอนจากโรงเรียนต่างๆ ตัวแทนจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และนักเรียน นักศึกษาที่สนใจกว่า 150 คน ตามคำเชิญของศูนย์จัดการเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.)

ลองคิดดูเล่นๆ ว่าถ้าล้อรถไม่ใช่วงกลมแล้วจะเป็นรูปทรงเรขาคณิตอะไรได้บ้าง? ศ.ดร.อากิยามาได้ใช้คณิตศาสตร์จนได้ล้อรูปทรงใหม่ๆ เป็นรูปสามเหลี่ยมที่ด้านทั้งสามเป็นเส้นโค้ง ซึ่งรถจำลองที่ใช้ล้อดังกล่าวก็สามารถเคลื่อนที่ไปได้โดยไม่สะดุด และนำไปประยุกต์ใช้กับงานไม้ได้ด้วยการใบมีดที่ด้านทั้งสามซึ่งเมื่อหมุนล้อ ก็จะได้หลุมที่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม

การ คำนวณหาปริมาตรของรูปทรง 14 หน้าอาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับเด็ก แต่ถ้าลองใส่จินตนาการลงไปเหมือนกับ ศ.ดร.อากิยามา เราก็จะได้ “เจ้าหมูน้อย” ที่กลายเป็นหมูแฮมรูปทรงสี่เหลี่ยม หรือจะเปลี่นยเนื้อเรื่องเป็นกบน้อยถูกงูกินด้วยการเปรียบรูปทรง 14 หน้าเป็นกบแล้วเปลี่ยนทรงสี่เหลี่ยมพื้นผ้าที่เปรียบเหมือนงู เท่านี้การคำนวณหาปริมาตรก็กลายเป็นเรื่องสนุกแล้ว

นอกจากนี้หลายคนอาจจะปวดขมับกับการจำสูตรพื้นที่ผิวของทรงกลม แต่ถ้าเรามีสูตรพื้นที่ผิวของวงกลมเป็นพื้นฐานแล้วก็ง่ายขึ้น ทั้งนี้ ศ.ดร.อากิยามาได้ทดลองให้เห็นว่าปริมาตรของเหลวในสายยาวที่ขดเป็นรูปครึ่ง ทรงกลมนั้นมีปริมาตรเท่ากับของเหลวในสายยางที่ขดเป็นรูปวงกลม 2 รูป นั่นคือพื้นที่ผิวของครึ่งทรงกลมเท่ากับพื้นที่ผิววงกลม 2 รูป จะได้สูตรของพื้นที่ผิวครึ่งทรงกลมเป็น 2pr2ดังนั้นพื้นที่ผิวทรงกลมจึงเท่ากับ 4pr2 เห็นหรือยังว่าคณิตศาสตร์นั้นสนุกแค่ไหนถ้าเราใส่จินตนาการลงไป

ศ.ดร.อากิยามานักคณิตศาสตร์ผู้มีมาดศิลปินกล่าวว่าในวัยเด็กนั้นพ่อ แม่และครอบครัวของเขาให้โอกาสในการเรียนรู้ อีกทั้งเขายังเติบโตท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติมากๆ เขาชอบสังเกตนก สังเกตผึ้ง ผีเสื้อและแมลงต่างๆ เขาจึงประทับใจกับสิ่งที่อยู่รอบตัว อีกทั้งเขายังชอบถอดประกอบอุปกรณ์ต่างๆ อาทิ นาฬิกาหรือจักรยานเป็นประจำ เขาจึงนำทักษะดังกล่าวมาใช้ในการสร้างสื่อการสอนคณิตศาสตร์

แล้ว เราเคยตั้งคำถามกันบ้างหรือไม่ว่าทำไมผ้าเป็นม้วนๆ ที่นำมาตัดเสื้อนั้นจึงต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยม คำถามนี้ติดอยู่ในใจของ ศ.ดร.อากิยามา จนเป็นแรงบันดาลให้เขาสร้างกล่องรูปทรงแปลกจากรูปทรงเรขาคณิตอื่นๆ อาทิ รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า รูปห้าเหลี่ยมด้านเท่าหรือรูปทรงแปดเหลี่ยม เป็นต้น และเขายังพบว่ารูปทรงพีรามิดนั้นไม่ว่าจะตัดและคลี่ออกเป็นรูปอะไรก็ตาม จะสามารถนำรูปนั้นมาต่อกันได้ไม่สิ้นสุดซึ่งเป็นหลักการเดียวกับการปู กระเบื้อง

อย่างไรก็ดี ศ.ดร.อากิยามาไม่ได้สร้างสื่อการสอนแค่เรื่องเรขาคณิตเท่านั้น เขายังทำให้แคลคูลัสเป็นเรื่องง่ายโดยการสร้างอุปกรณ์เป็นหลอดทดลองเล็กๆ หลายอันฉีดของเหลวเข้าหลอดทดลองขนาดใหญ่ 1 หลอด ซึ่งเป็นหลักการของการอินทิเกรตในวิชาแคลคูลัสอีกด้วย ทั้งนี้เขาสร้างสื่อการสอนคณิตศาสตร์ที่สัมผัสได้กว่า 500 ชิ้น ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการคำนวณทางทฤษฎีที่ซับซ้อน แต่ก็ทำให้เด็กๆ และคนทั่วไปเข้าใจได้อย่างง่ายๆ

พร้อมกันนี้ ศ.ดร.อากิยามากล่าวว่าเราต้องบอกลาการเรียนคณิตศาสตร์แบบเก่ๆ ที่มีเพียงชอล์กและกระดานดำ พร้อมกับคำสั่งของครูที่เด็กทำถูกก็เป็นเด็กดี ส่วนเด็กที่ทำไม่ถูกก็กลายเป็นเด็กไม่ดีไป ทั้งนี้ต้องเน้นการทดลองให้เด็กมีส่วนร่วมมากขึ้น ทำคณิตศาสตร์ให้กลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้ องค์ประกอบที่จะทำให้เด็กชอบคือต้องทำให้เด็กเกิดความประทับใจและมีความสุข เมื่อเด็กได้ทดลองก็จะชอบและประทับใจ ซึ่งความแปลกก็เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กตื่นเต้นและสนใจ

“เรา ไม่ควรเรียนคณิตศาสตร์เพียงเพื่อทำคะแนน แต่เราควรเรียนคณิตศาสตร์โดยมีเป้าหมายว่าจะทำให้ชีวิตของเราง่ายและสะดวก สบายขึ้น คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่สนุกนะเด็กๆ ทำไมไม่ลองที่จะเรียนรู้ดูล่ะ” ศ.ดร.อากิยามาฝากถึงเด็กๆ

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


How To Copy Wii Games
Music Games
Play Car Games
Play Free Online Rpg Games
Pool Party Games
The Last Stand Game
Free Tetris Games
Hot Free Online Games
Play Wrestling Games
Spiderman 3 Free Online Games

เข้ารหัสควอนตัมบัตรเครดิต-ทำนาฬิกาให้เที่ยง ต่อยอดฟิสิกส์โนเบล 2005


เกลาเบอร์

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
จอห์น ฮอลล์

(ขวา) เฮนซ ฉลองหลังทราบว่าได้รับรางวัลโนเบล

การจะทำนาฬิกาอะตอมให้เที่ยงต้องมีเลเซอร์อ้างอิงที่มีความถี่มากกว่า

ปัจจุบันเราใช้ประโยชน์จากแสงเลเซอร์กัน อย่างแพร่หลาย แต่ท่านเคยสงสัยบ้างหรือไม่ว่าแสงเลเซอร์นั้นต่างจากแสงไฟของหลอดนีออนหรือ เปลวเทียนอย่างไร เราอาจจะไม่สนใจกับคำถามที่ดูห่างไกลปัญหาปากท้องนี้ แต่คนที่เขาคิดและตอบคำถามนี้ได้ก็รับรางวัลโนเบลฟิสิกส์ประจำปีนี้ไปเรียบ ร้อยแล้ว

เขาคนนั้นคือรอย เกลาเบอร์ (Roy J. Glauber) ศาสตราจารย์จากภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ได้คิดค้นทฤษฎีที่นำไปสู่ทฤษฎีควอนตัมของแสง พร้อมกันนี้ราชบัณฑิตยสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนยังได้ประกาศมอบรางวัล โนเบลฟิสิกส์ประจำปี 2005 ให้นักฟิสิกส์อีก 2 คน คือ จอห์น ฮอลล์ (John L. Hall) จากสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติสหรัฐหรือนิสต์ (National Institute of Standards and Technology: NIST) และประจำมหาวิทยาลัยโคโรลาโด สหรัฐฯ และธีโอดอร์ เฮนช (Theodor W. Hänsch) จากสถาบันควอนตัมฟิสิกส์แมกซ์ พลังก์ (MPQ : Max-Planck-Institut für Quantenoptik) และมหาวิทยาลัยลุดวิก-แม็กซิมิเลียนส์ (Ludwig-Maximilians-Universität) ในเยอรมนีด้วย

ดร.อรรถกฤต ฉัตรภูติ อาจารย์จากภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอธิบาย ว่ารางวัลโนเบลฟิสิกส์ปีนี้แยกเป็น 2 เรื่องคือในส่วนเกลาเบอร์นั้นเรื่องทฤษฎีควอนตัมของแสง (quantum optic) และส่วนของฮอลล์และเฮนซนั้นพัฒนาเทคนิคเพื่อใช้ศึกษาสเปกตรัมด้วยเลเซอร์ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการต่อยอดมาจากผลงานของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ในเรื่องปรากฏการณ์โฟโตอิเลกทริก

ทฤษฎีของเกลาเบอร์เป็นการศึกษา “แสงและการวัดแสง” ด้วยภาษาของควอนตัมฟิสิกส์ ผลงานของเขาทำให้เกิดสาขาใหม่ที่เรียกว่า Quantum Optics ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน ดร. อรรถกฤตอธิบายว่าทฤษฎีของเกลาเบอร์สามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างแสง เลเซอร์กับแสงเทียน ซึ่งเลเซอร์นั้นเป็นแสง “โคฮีเรนซ์” (Coherence) หรือ “แสงอาพันธ์” คือเป็นคลื่นที่มีความถี่และเฟสเดียวกัน ส่วนแสงเทียนนั้นปล่อยคลื่นหลายเฟสและหลายความถี่ โดยก่อนหน้านี้ไม่มีทฤษฎีที่สามารถอธิบายได้

“ถ้า เราลองจินตนาการว่าแสงเป็นคลื่นในลักษณะกระเพื่อมขึ้นลง นั่นคือมียอดคลื่นและท้องคลื่น ‘โคฮีเรนซ์’ หมายถึงการที่ยอดคลื่นหรือท้องคลื่นของคลื่นแสงต่างๆ ในลำแสงเดียวกันต่างเรียงเป็นแนวเดียวกันหมด นั่นคือพวกมันมีเฟสเดียวกัน (inphase) ขณะที่เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยความถี่หรือความยาวคลื่นเท่ากัน”

ทั้ง นี้ผลจากการค้นคว้าของเขา ยังนำสู่การเข้าใจธรรมชาติของแสงได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ทฤษฎีของเกลาเบอร์ยังมีส่วนในการพัฒนาการเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง เช่น เข้ารหัสทางควอนตัม (quantum cryptography) ที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยทางข้อมูล เช่นในระบบอินเทอร์เน็ตหรือบัตรเครดิต เป็นต้น โดยมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเครื่องนับจำนวนโฟตอนหรืออนุภาคแสงได้ทีละตัวที่ เรียกว่า “Single photon detector”

“ในอีกแง่หนึ่งผลงานของเกลาเบอร์ทำให้เราเข้าใจเรื่องสัญญาณรบกวนที่ เป็นผลจากควอนตัมฟิสิกส์ โดยในทางกลศาสตร์ควอนตัมนั้นการวัดแสงจะเกิดความไม่แน่นอนหรือความคลาด เคลื่อนอันเป็นผลจากหลักความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์ก (Heisenberg’s Uncertainty Principle) ซึ่งจะเป็นขีดจำกัดของการวัดสัญญาณที่ต้องการความละเอียดสูงๆ แต่ในปัจจุบันนักฟิสิกส์สามารถจะบีบสัญญาณแสงให้อยู่ในสถานะที่เรียกว่า squeezed light"

“ทำให้เราสามารถข้ามขีดจำกัดดังกล่าวไปได้ ทั้งนี้สถานะ “squeezed state” ของแสงยังคงเป็นไปตามหลักความไม่แน่นอน แต่เราจะสามารถที่เลือกวัดขนาดอำพน (แอมปลิจูด) หรือเลือกวัดเฟสของคลื่นอย่างใดอย่างหนึ่งได้แม่นยำมากขึ้น และเมื่อเราเข้าใจควอนตัมของแสงเราจะสามารถบีบแสงให้เล็กลงได้ซึ่งนำไปสู่ การประยุกต์และศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติได้อีกมาก”

ด้าน ดร.ศรันย์ สัมฤทธิ์เดชขจร นักวิจัยอิเล็กโตรออปติกส์ จากศูนย์เทคโนโลยีอิเลกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจำปี 2547 อธิบายงานของฮอลล์และเฮนซว่าทั้ง 2 ศึกษาเรื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยแสงเลเซอร์มาใช้ทำให้การวัดคลื่นความถี่มี ความละเอียดสูงมากขึ้น รวมถึงเทคนิค “หวีความถี่” (optical frequency comp technique) ซึ่งจะใช้แสงที่ถูกปล่อยออกมาในช่วงเวลาสั้นๆ หลายๆ พัลส์ ซึ่งพวกเขาสามารถผลิตแสงเลเซอร์ออกมาในช่วงเวลาที่สั้นถึง 10-12 วินาที ทำให้สามารถนำไปวัดอะไรก็ได้ รวมถึงใช้เป็นตัวอ้างอิงในการทำนาฬิกาอะตอมด้วย

“ลองนึกถึงหวีที่จะเป็นซี่ๆ แต่ละซี่ก็คือ 1 ความถี่ของคลื่นแสง หรืออาจจะมองว่าเป็นช่วงของเวลาก็ได้ โดยซี่ที่ 1 คือ 1 วินาที ซี่ที่ 2 คือวินาทีที่ 2 ถัดมาและซี่ที่ 3 ก็คือวินาทีที่ 3 ถัดมาเรื่อยๆ ซึ่งการปล่อยแสงในช่วงเวลาที่สั้นมากๆ เช่น 10 -12 วินาทีหรือมีความถี่ 1012 เฮริตซ์ ทำให้เราวัดอะไรได้หลายอย่าง เช่น วัดคลื่นมือถือซึ่งมีความถี่ 1.9 GHz เพราะคลื่นมือถือมีช่วงการปล่อยที่ยาวกว่า”

หลายคนอาจจะสงสัยว่าเทคนิคดังกล่าวไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ตัวอย่างหนึ่งของการประยุกต์ใช้คือใช้เป็นความถี่อ้างอิงสำหรับทำนาฬิกา อะตอมซึ่งอาศัยการสั่นของอนุภาคที่มีความถี่หลายล้านครั้งต่อวินาที ความคลาดเคลื่อนจึงอยู่ในระดับเศษเสี้ยวนับล้านของวินาที และการที่แสงเลเซอร์ซึ่งนักฟิสิกส์โนเบลทั้งสองสามารถพัฒนาให้มีความถี่นับล้านล้านครั้งต่อวินาที (10 12 เฮริตซ์) จึงใช้เป็นความถี่สร้างอ้างอิงสำหรับสร้างนาฬิกาอะตอมให้มีความแม่นยำมากขึ้นได้

นอกจากนี้ ดร.ศรันย์เล่าเกร็ดว่าทั้ง 3 คนคือเกลาเบอร์ ฮอลล์และเฮนซไม่เพียงศึกษาเกี่ยวกับเรื่องแสงอาพันธ์เท่านั้น พวกเขายังศึกษาเรื่องการทำอะตอมให้เย็นด้วยเลเซอร์อีกด้วย ซึ่งในปี 1997 ผู้ที่สามารถให้อะตอมเย็นลงก็ได้รับรางวัลโนเบล ต่อมาในปี 2000 มีนักฟิสิกส์สามารถให้อะตอมเย็นลงถึง 10 -9 K และก็ได้รับรางโนเบลเช่นกัน ทั้งนี้ตามทฤษฎีที่ไอน์สไตน์ทำร่วมกับสัตเยนทรานาถ โบส (Satyendranath Bose) นักฟิสิกส์ชาวอินเดีย เมื่ออะตอมเย็นถึงอุณภูมิดังกล่าวอะตอมทั้งหมดจะมาอยู่รวมกันจนบอกไม่ได้ว่า กี่อะตอม

ดร.ศรันย์อธิบายว่าโดยปกติอะตอมจะสั่นอยู่ตลอดเวลาซึ่งหากทำให้อะตอม อยู่นิ่งได้อุณหภูมิก็จะลดลง การลดอุณหภูมิของเลเซอร์จึงทำได้โดยการยิงอนุภาคที่มีขนาดเล็กระดับอะตอม เข้าไปชนในทิศทางตรงข้าม และการยิงแสงเลเซอร์ซึ่งประพฤติตัวเป็นโฟตอนได้ชนกับอะตอมหลายๆ ชุด จะทำให้อะตอมช้าลงและหยุดนิ่งในที่สุด และปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถทำอะตอมให้เย็นได้ถึง 450 x 10-12 K ส่วนการจะวัดว่าอะตอมเย็นแค่ไหนก็จะมีการคำนวณทางทฤษฎีเทียบกับขนาดของอะตอมอีกที


ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


Adventure Games Downloads
All The New Playstation2 Games Cheat
Arcade Games To Play
Car Games For Kids
Download Free Star Trek Games
Football Games To Play Online
Free Downloading Pool Games
Free Online Sniper Games
Free Printable Board Games
Game Give Away Of The Day